ก้าวต่อไป..ของ SMEs/Startup วิกฤตกี่ครั้งฉันต้องอยู่รอด

01 ตุลาคม 2563
อ่าน 4 นาที
​​ผลกระทบของสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่ผ่านมา เพราะเกิดผลระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลกและกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คน หรือการดำเนินธุรกิจ บางธุรกิจหรือบางอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงักหรือชะลอกำลังการผลิตลง เช่น อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน ร้านอาหาร ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่มีปัญหาการเงิน บางธุรกิจต้องปิดตัวลง กำลังซื้อของผู้บริโภคก็ลดลง เศรษฐกิจก็ชะลอตัวลงไป รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)

อย่างไรก็ดี แม้วิกฤตโควิด-19 จะกระทบรุนแรงกว่าครั้งอื่น ๆ ที่ผ่านมา แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส เช่น พฤติกรรมผู้บริโภคที่จำต้องเปลี่ยนมาใช้ช่องทางออนไลน์ซื้อของมากขึ้น ดังนั้น หากใครมีทักษะในด้านออนไลน์และใช้ช่องทางนี้ในการขายก็จะได้เปรียบ สามารถเพิ่มยอดขายได้

โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ กล่าวว่า ทุกวิกฤตมีทางออกเสมอ SMEsก็มีทางรอด โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการเงินนั้น แก้ได้ ปรับได้ ยกเว้นเจ้าของปัญหา (เจ้าของกิจการ)ยอมแพ้ หรือไม่สู้แต่หากพร้อมปรับพร้อมแก้ไข ก็จะมีทางออกเสมอ

ที่ผ่านมา SMEs มักให้ความสำคัญหรือสนใจเรื่องการตลาดและการผลิตสินค้าเป็นหลักจนกระทั่งเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตนี้ ทำให้ SMEs ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการเงินและการบริหารจัดการสภาพคล่องมากขึ้น และอาจต้องปรับเปลี่ยนการขายสินค้าหรือกลยุทธ์การขาย (เปลี่ยนสินค้า/ช่องทางขาย) เพื่อให้อยู่รอด
เช่น เปลี่ยนจากขายเครื่องสำอาง เป็นเจลแอลกอฮอล์

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาธุรกิจที่มีปัญหาเรื่องการเงิน หรือมีปัญหาหนี้สินมาก มักมองหาวิธีแก้ปัญหาคือ หาเงินไปชำระหนี้ แต่มีวิธีแก้ปัญหาหนี้สินสำหรับกิจการอีกวิธีหนึ่งคือ การลดหนี้สินลงด้วยการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายภาครัฐในการช่วยเหลือกิจการและประชาชน

ช่วงโควิด-19 ผู้ประกอบการต้องเริ่มสำรวจรายจ่ายและหนี้สินของตนเองแล้วไปเจรจาต่อรองขอลดหนี้กับเจ้าหน้าอย่าางจริงจังตรงไปตรงมา อาทิ ขอลดดอกเบี้ยยืดระยะเวลาชำระหนี้ให้ยาวเพื่อให้เงินผ่อนต่อเดือนลดลง วิธีการนี้ส่งผลดีต่อทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ผู้ประกอบการไม่ควรพยายามกู้เงินเพิ่มเพื่อนำไปชำระหนี้แต่ควรเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ก่อน หากจำเป็นต้องกู้เพิ่ม สินเชื่อควรเป็นสินเชื่อที่สร้างรายได้ในอนาคต

อย่างไรก็ดี หากธุรกิจหรืออุตสาหกรรมจำเป็นต้องหยุดชะงักการเปลี่ยนไปทำอุตสาหกรรมอื่นก็สามารถทำได้ โดยให้มองกลับมาที่ธุรกิจของตนเองก่อน สำรวจทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น เครื่องจักร พนักงาน ช่องทางการขายว่าสามารถเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นที่สร้างรายได้ได้หรือไม่จากตัวอย่างที่เราได้เห็นกัน ธุรกิจร้านอาหาร พ่อครัวเปลี่ยนมาส่งอาหารด้วยธุรกิจขายขนมยอดขายตก มีลูกน้องจำนวนมากเริ่มเป็นหนี้สินต้องให้ลูกน้องหันมาเย็บหน้ากากผ้าให้มีรายได้เข้ามา และลดหนี้ได้ในที่สุด จะเห็นได้ว่า ในสภาวะแบบนี้เรื่องการเงิน การสื่อสารกับพนักงานหรือลูกน้องเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทุกคนต้องปรับตัวผึกฝนใช้ทักษะใหม่ ๆ และต้องร่วมมือกันจึงจะอยู่รอด
 


โค้ชหนุ่ม แนะนำว่า หากจะจัดการปัญหาด้านการเงิน ห้ลองวางแผนการเงินอย่างจริงจังและ“สภาพ
คล่อง” เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ผู้ประกอบการควรทำประมาณการงบกำไรขาดทุนตามจริงใน 6 เดือนข้างหน้า ให้
เห็นสถานะการเงินในเวลาอันใกล้หากติดลบจะได้แก้ปัญหาได้ทัน วิธีแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
1) คุมรายจ่ายรายจ่ายจากเจ้าหนี้ รายไหนที่เจรจาได้ให้เจรจาก่อน 2) เจรจากับลูกหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ (ให้มีเงินเข้ามา) 3) สินค้าคงคลัง = ต้นทุนจม ให้ขายก่อน อาจทำโปรโมชั่นเพื่อจูงใจผู้ซื้อ 4) จัดสรรเงินสำรอง

นอกจากนี้ ให้หลักที่ผู้ประกอบการควรยึดไว้ 3 ข้อ คือ 1) แยกเงินส่วนตัวกับเงินธุรกิจ 2) ให้ใช้จ่ายบนกำไร
ไม่ใช่รายได้ 3) ทำงบการเงิน อาทิ งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด ให้สะท้อนตามจริง เพราะจะทำให้เรารู้
และเข้าใจธุรกิจและวางแผนต่อไปได้เห็นสภาพคล่องที่แท้จริง เช่น เงินเดือนตัวเองต้องจ่ายเท่าไหร่ ควร
เปลี่ยนธุรกิจหรือไม่ สินค้าตัวไหนควรขายหรือควรตัดทิ้ง

“ทุกปัญหามีทางออก ขอเพียงเรามีสติ ยอมรับปัญหา ทำตัวเลขทางการเงินให้ชัด ดูว่าต้องแก้ปัญหา
จุดไหน แล้วแก้ไข ให้รักษากำลังใจ ไม่มีใครให้กำลังใจเราได้ดีเท่าตัวเราเอง” โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์
กล่าวให้กำลังผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต



________________________________
อ้างอิงเนื้อหาจากรายการรู้เงินรู้ลงทุน หัวข้อ "ก้าวต่อไป..ของ SMEs/Startups วิกฤตกี่ครั้งฉันต้องอยู่รอด" เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 63